
ต่อเติมบ้านแบบประหยัด ตามแบบฉบับคนงบน้อย
ปัจจุบันการต่อเติมบ้าน ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เห็นได้จากทุกครัวเรือน ในช่วงแรกเจ้าของอาจจะรู้สึกพอใจ เห็นดีเห็นงามว่าบ้านของตัวเองนั้นสวยแล้ว ดีแล้ว มีพื้นที่และมีห้องต่างๆที่สมบูรณ์ตามต้องการ แต่พอนานๆไป ความรู้สึกที่มีก็อาจจะไม่เหมือนกับวันแรก เริ่มอยากจะปรับปรุงจุดนั้นบ้างจุดนี้บ้าง อยากจะเพิ่มพื้นที่บริเวณห้องครัวเอย ห้องนอนเอย หรือถ้าหากเจ้าของบ้านหลังไหนต้องการเปลี่ยนแปลงเยอะหน่อย จากเดิมที่เคยเป็นบ้านชั้นเดียวก็อาจจะเปลี่ยนเป็นสองชั้นไปเลย ซึ่งความต้องการทั้งหมดที่เจ้าของบ้านมี จึงส่งผลนำมาสู่กระบวนการต่อเติมบ้านนั่นเอง โดยการต่อเติมบ้านแต่ละครั้ง ไม่ใช่ว่าทำได้ง่ายๆ ถ้าไม่คิดหน้าคิดหลังให้ดีก็อาจมีปัญหาตามมาได้ และวันนี้เราก็อยากจะขอมาให้ความรู้ทุกท่านที่กำลังมีความคิดอยากต่อเติมบ้าน ไปดูกันว่าต่อเติมบ้านแบบไหนไม่ให้มีปัญหา รวมถึงต่อเติมแบบประหยัดทำอย่างไร ต่อเติมบ้านแบบไหนให้ถูกกฎหมาย ไม่มีปัญหาตามมา สิ่งสำคัญที่สุดในการต่อเติมบ้านแต่ละครั้ง คือ เจ้าของบ้านควรศึกษา ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ กฎหมายเกี่ยวกับการต่อเติมบ้านให้ละเอียดจึงจะลงมือ ซึ่งตามกฎหมายแล้ว การต่อเติมบ้าน ไม่ว่าจะแบบบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม หรือแบบไหนๆ ควรต้องได้รับอนุญาตความยินยอมจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างเสียก่อน นอกจากนี้ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายการต่อเติมบ้านด้วย ดังนี้ “ต้องทำเรื่องขออนุญาตกับเจ้าพนักงาน” ก่อนต่อเติมบ้าน ทั้งการเพิ่มหน้าบ้าน การลด ขยาย ปรับแต่งพื้นที่อาคาร เจ้าของบ้านจำเป็นต้องทำเรื่องกับพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนทุกครั้ง “ต้องมีสถาปนิก,วิศวกรคอยคุมการต่อเติม” การต่อเติมบ้าน เจ้าของบ้านต้องมีแบบแปลนบ้าน ที่มีการรับรองจากวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง รวมถึงการรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อไว้ใช้เป็นข้อมูลในการเปลี่ยนวัสดุระหว่างต่อเติมบ้านใหม่นั่นเอง “ต้องทำตามกฎหมายระยะร่นและที่เว้นว่าง ในการต่อเติมบ้านทุกครั้ง” จำเป็นจะต้องอยู่ภายใต้พรบ. “ควบคุมอาคาร” มาตรา 4 พ.ศ. 2522 ตามระเบียบ 3 ข้อดังต่อไปนี้ 1.ขอบเขตของตัวอาคารหรือบ้านที่ต่อเติมต้องไม่เกิน 70% ของที่ดิน โดยนับจากชั้นที่กว้างที่สุด 2.เมื่อต้องการต่อเติมบ้าน ระหว่างตัวอาคารกับจุดกึ่งกลางถนนสาธารณะ ต้องมีระยะร่นไม่เกิน 3 เมตร 3.เมื่อต้องการต่อเติมบ้าน ระหว่างตัวอาคารกับเขตที่ดินด้านหน้า ต้องมีช่องเว้นว่างไม่เกิน 3 เมตร ส่วนด้านหลังและด้านข้างต้องมีช่องเว้นว่างไม่เกิน 2 เมตร “ต้องได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้าน” ในการต่อเติมบ้าน หากบ้านเราอยู่ในระแวกที่มีเพื่อนบ้าน ก็อาจจะเกิดมลภาวะทางเสียง กลิ่น ต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ เพราะฉะนั้นเจ้าของบ้านจึงจำเป็นต้องทำหนังสือแบบลายลักษณ์อักษร พร้อมข้อความยินยอมจากเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนว่าทั้งสองฝ่ายยินดีที่จะทำตามข้อตกลงตามในหนังสือ ต่อเติมบ้านแบบประหยัด ทําอย่างไร ต้องมีเทคนิคที่ดี ทุกครั้งก่อนทำการต่อเติมบ้าน เจ้าของบ้านควรให้ผู้ก่อสร้างตรวจเช็คสภาพจุดสำคัญให้ดี อย่างสภาพเสาเข็มใต้พื้นบ้านเดิม หากเริ่มมีการชำรุด ก็ค่อยเพิ่มจำนวนเสาเข็ม เพื่อป้องกันไม่สิ่งปลูกสร้างที่ต่อเติมใหม่ไปทรุดเสาเข็มเดิม ซึ่งอาจจะทำให้บ้านพังทลายมาได้ หากผิดพลาดในกรณีนี้นอกจากเสียเวลา ก็ยังต้องเสียเงินจำนวนมหาศาลไปโดยเปล่าประโยชน์อีก เจ้าของบ้านต้องมีความฉลาดรอบคอบในการเลือกช่างก่อสร้างที่ไว้วางใจได้ ไม่เอาเปรียบ มีความตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์แปลนบ้านปัจจุบัน หรือวิธีประเมินราคาต่อเติมบ้านตามราคาตลาดRead More →